ม.มหิดล มอบชีวิตใหม่ “เด็กนอกระบบการศึกษา” ด้วย “พลังแห่งจิตตปัญญา”

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่ทำงานขับเคลื่อนสังคมด้วยการนำเอา “กระบวนการพัฒนามิติด้านใน” เน้นการ “ตื่นรู้” “สร้างพื้นที่ปลอดภัย” และ “การรับฟัง” ให้กับผู้คนกลุ่มต่างๆ ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนชายขอบ/เปราะบาง ด้วยแนวคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ลงลึกไปถึงการพัฒนา “มิติด้านในของมนุษย์” ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหายากๆ ในสังคมได้อย่างแท้จริง และยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลการทำงานกับเด็กชายขอบ/เปราะบาง (marginalized/vulnerable children) ในประเทศไทยว่า ยังคงมีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังการระบาดหนักของ COVID-19 พบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยกลับมาพร้อมกับปัญหาการติดสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม และการถูกปฏิเสธกลับเข้าสู่ระบบโรงเรียน ฯลฯ

ที่ผ่านมา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้กลวิธีในการทำงานกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการขับเคลื่อนจิตตปัญญาให้เป็น “เครื่องมือ” ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา” ตั้งแต่เด็กนักเรียน “เสี่ยงหลุดหลังห้อง” จนถึงเด็กที่ปฏิเสธระบบการศึกษา และเด็กที่ตกอยู่ใน “กับดักวงจรความดำมืดของชีวิต” ทั้งหลาย

ครูจะต้องสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” ให้เกิดขึ้น ใช้การรับฟัง ให้โอกาส แทนการใช้อำนาจ จะสามารถเปลี่ยนเด็กนักเรียนที่มีปัญหา สู่การเป็นเด็กที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง กล่าว

ร่วมเปิดมุมมองสู่การค้นพบตัวตนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นคนใหม่ที่ไม่หวั่นในทุกสถานการณ์ชีวิต ผ่านการศึกษาแนวคิดจิตตปัญญาด้วยตัวเองได้ที่ www.ce.mahidol.ac.th Facebook: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

……………………………………….

สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิงก์ https://shorturl.asia/0zJwQ – Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354